ฉุกเฉิน / ภัยพิบัติ

หากเกิดภัยพิบัติขึ้น

เมื่อเกิดภัยพิบัติใหญ่ เช่น พายุไต้ฝุ่น ฝนตกหนัก หรือแผ่นดินไหว

  • ไม่สามารถใช้ไฟฟ้า แก๊ส และน้ำได้
  • การเชื่อมต่อทางโทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ตนั้น บางครั้งอาจเป็นไปได้ยาก
  • ถนนอาจสัญจรไม่ได้ จึงทำให้รถยนต์ และรถประจำทางเดินไม่ได้ สถานกาณ์การเดินรถไฟอาจอหยุดให้บริการ
  • ตึกหรืออาคารอาจแตกหัก และสิ่งของอาจตกลงมาจากอาคารสูงก็ได้

รวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง

ขอให้รวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องจากเว็บไซต์/ทีวี/แอพ/ของหน่วยงานราชการที่รองรับภาษาต่างประเทศด้วย

เว็บไซต์ และแอพที่ช่วยให้ตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย

แอพแนะนำข้อมูลกรณีที่เกิดภัยพิบัติ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ Saftey tip (14 ภาษา)

การหลบหนีไปยังสถานที่ปลอดภัย(การอพยพ)

  • ดับไฟของแก๊ส และเครื่องทำความร้อน ก่อนหลบหนีไป
  • ขอให้ระมัดระวังความปลอดภัยรอบตัวท่าน ในขณะหลบหนีไปยังสถานที่ปลอดภัยด้วย
  • เก็บข้าวของเฉพาะที่จำเป็นของท่านให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ แล้วค่อยเดินออกไป
  • ขอให้เก็บสิ่งของใส่ลงในกระเป๋าสะพายหลังฯลฯ จะได้ใช้มือทั้งสองข้างได้สะดวก
  • หากท่านไม่ทราบสถานที่ปลอดภัย ขอให้ถามกับคนญี่ปุ่นว่า “ศูนย์อพยพอยู่ที่ไหน”ด้วย

เมื่อท่านต้องการติดต่อครอบครัว และเพื่อนของท่าน

  • การเชื่อมต่อทางโทรศัพท์นั้น บางครั้งอาจเป็นไปได้ยาก
  • เชื่อมต่อจากโทรศัพท์สาธารณะได้ง่ายกว่าดังนั้นขอให้ท่านใช้โทรศัพท์สาธารณะด้วย
  • โปรดใช้บริการ “สายด่วน 171 / Web171 รับฝากข้อความภัยพิบัติ “ด้วย
  • วิธีค้นหาสถานที่ติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะ

    ค้นหาสถานที่ติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะของ NTT ตะวันออก (ภาษาญี่ปุ่น)

  • สายด่วน 171 / Web171 รับฝากข้อความภัยพิบัติ
    สายด่วน 171 รับฝากข้อความภัยพิบัติ
    ท่านสามารถรับฝากข้อความได้ ด้วยการโทรหมายเลข 171

    ภาษาญี่ปุ่น

    ภาษาอังกฤษ

    กระดานข้อความภัยพิบัติ Web 171
    ท่านสามารถฝากข้อความเป็นตัวอักษร โดยคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนของท่านได้

    ภาษาญี่ปุ่น/ภาษาอังกฤษ/ภาษาเกาหลี/ภาษาจีน

    แนะนำวิธีใช้ “171” และ “Web171″โดยวิดีโอ
    วิดีโอนี้จะอธิบายวิธีใช้บริการรับฝากข้อความภัยพิบัติให้เข้าใจง่าย

    ภาษาญี่ปุ่น

ตรวจสอบว่าครอบครัว และเพื่อนของท่านปลอดภัยหรือไม่

Google ค้นหาบุคคล

หลายภาษา

การยื่นขอใบรับรองภัยพิบัติ

กรณีบ้านที่ท่านอาศัยอยู่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติครังใหญ่ เช่น แผ่นดินไหว/พายุไต้ฝุ่น/ฝนตกหนัก/ไฟไหม้ฯลฯ ท่านสามารถยื่นขอใบรับรองภัยพิบัติ เพื่อขอสมัครรับเงินช่วยเหลือได้ที่สำนักงานของรัฐในเมืองที่ท่านอาศัยอยู่

วิธีรับใบรับรองภัยพิบัติ สภาเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (CLAIR) (10 ภาษา)