การทำงานในประเทศญี่ปุ่น

กฏระเบียบในการทำงาน

กฏระเบียบการทำงาน

บริษัทที่มีจำนวนพนักงาน 10 คนขึ้นไปต้องมี”กฎระเบียบการทำงาน” พนักงานสามารถตรวจสอบกฎระเบียบได้

ธีรับค่าจ้าง

  • รับเงินโดยตรงเป็นเงินสด (สามารถโอนเข้าบัญชีธนาคารก็ได้)
  • บริษัทจะหักเงินภาษีและเบี้ยประกันสังคมจากค่าจ้างและชำระให้แก่รัฐบาลแทนท่าน
  • ค่าจ้างต้องรับเป็นวันกำหนดประจำทุกเดือน ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง

สลิปเงินเดือน

บจากบริษัทในวันเงินเดือนออกทุกเดือน
เป็นเอกสารที่ระบุไว้ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยงต่างๆ ภาษีหัก และเบี้ยประกันสังคม

เงินช่วยเหลือเมื่อหยุดงาน

กรณีแรงงานถูกให้หยุดงานเนื่องจากความรับผิดชอบของบริษัท บริษัทต้องจ่ายเงินช่วยเหลือเมื่อหยุดงานเป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของค่าจ้าง

เวลาทำงาน เวลาพัก วันหยุด

เวลาทำงาน

นละ ภายใน 8 ชั่วโมง (อาจแตกต่างกันไปตามรูปแบบการทำงาน)
สัปดาห์ละ ภายใน 40 ชั่วโมง

เวลาพัก

อย่างน้อย 45 นาทีหากทำงานเกินวันละ 6 ชั่วโมง
60 นาทีหากทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง

วันหยุด

อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน หรืออย่างน้อย 4 วันตลอดการทำงานสัปดาห์

วันลาหยุดพักผ่อนประจำปี

การลาหยุดที่ต้องมีการจ่ายค่าจ้างแม้จะหยุดงานปกติ ผู้ที่ทำงานต่อเนื่องกันเป็นเวลา 6 เดือนและมาทำงานไม่น้อยกว่า ร้อย ละ 80 ของวันทำงานทั้งหมด แม้จะเป็นพนักงานจัดหาชั่วคราว หรือแรงงานพาร์ตไทม์ก็ตาม

การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด

จำนวนเวลาทำงานที่กฎหมายกำหนด

  • ไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ไม่เกินสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง
  • หยุด อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน หรืออย่างน้อย 4 วันตลอดการทำงาน 4 สัปดาห์

การทำงานเกินกว่าจำนวนทำงานที่กฎหมายกำหนด เรียกว่า” การทำงานล่วงเวลา “
กฎหมายได้จำกัดจำนวนเวลาสูงสุดของการทำงานล่วงเวลา : เดือนละ 45 ชั่วโมง และปีละ 360 ชั่วโมง
ในกรณีที่มีสถานการณ์พิเศษอาจได้รับอนุญาตให้ทำงานล่วงเวลาเกินกว่ากฎนี้ โปรดสอบถามรายละเอียดต่อกรมแรงงานด้วย

กรณีที่ให้แรงงานทำงานเกินกว่าจำนวนเวลาทำงานที่กฎหมายกำหนด หรือทำงานในวันหยุดที่กฎหมายกำหนด หรือทำงานกะดึก บริษัทต้องจ่ายค่าจ้าง เพิ่มขึ้น
①เวลาทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง หรือเวลาทำงานเกินกว่าสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง ค่าจ้างต้องเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่า
②กรณีทำงานในบริษัทขนาดใหญ่ (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566 บริษัทขนาดใดๆก็ตามเข้าเกณฑ์) และมีเวลาในการทำงานล่วงเวลาเกินกว่าตามที่กฎหมายกำหนด คือ เดือนละ 60 ชั่วโมง ค่าจ้างต้องเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า
③เมื่อให้ทำงานในวันหยุดที่กฎหมายกำหนด ค่าจ้างต้องเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 1.35 เท่า
④หากทำงานเกินจำนวนเวลาที่กฎหมายกำหนด และเป็นการทำงานกะดึก (① + ④) ค่าจ้างต้องเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า

กระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการ จำกัดจำนวนเวลาสูงสุดของการทำงานล่วงเวลา (ภาษาญี่ปุ่น)

การลาหยุดพิเศษ

การลาหยุดก่อนและหลังคลอด

แรงงานสตรีระหว่างตั้งครรภ์สามารถลาหยุดได้ในช่วงเวลาต่อไปนี้ ก่อนคลอด6 สัปดาห์ตามคำร้องขอของตัวคลอด (หรือ 14 สัปดาห์ในกรณีตั้งครรภ์แฝด) และระยะเวลา 8 สัปดาห์หลังคลอดบุตรเป็นช่วงเวลาที่ห้ามให้ทำงาน
ผู้เขาเกณฑ์เงื่อนไขในระหว่างลาหยุดก่อนและหลังคลอดสามารถรับ”เงินอุดหนุนการคลอดบุตร”จากประกันสุขภาพได้

การลาหยุดงานเพื่อเลี้ยงดูบุตร

แรงงานชายหญิงที่ทำงานให้กับบริษัทสามารถลาหยุดในช่วงที่เด็กอายุยังไม่เกิน 1 ปี เพื่อเลี้ยงดูบุตรได้
ผู้ลาหยุดเพื่อเลี้ยงดูบุตร และเขาเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดสามารถรับ”เงินสนับสนุนการลาหยุดเพื่อเลี้ยงดูบุตร”จากประกันการจ้างงานได้

การลาดูแลครอบครัว

“การดูแลครอบครัว” คืออะไร?
เป็นการดูแลครอบครัวที่มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันเนื่องจากความชราภาพหรือเจ็บป่วยพิเศษ
แรงงานที่มีสมาชิกในครอบครัวที่เขาเกณฑ์ในภาวะต้องการการบริบาลสามารถลาหยุดได้เพื่อดูแลครอบครัว ระยะเวลาการลาหยุดรวมทั้งสิ้น 93 วันโดยสามารถแบ่งลาได้ถึง 3 ครั้ง
ผู้ลาหยุดเพื่อดูแลครอบครัว และเขาเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดสามารถรับ”เงินสนับสนุนการลาหยุดเพื่อเดูแลครอบครัว”จากประกันการจ้างงานได้(มอบให้เท่ากับอัตราร้อยละ 67 ของค่าจ้าง)

กระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการ ระบบการลาดูแลครอบครัว (ภาษาญี่ปุ่น)

การออกจากงาน การเลิกจ้าง และอื่น ๆ

การสมัครใจลาออก

กรณีสัญญาจ้างงานไม่มีการกำหนดระยะเวลาของสัญญา

แรงงานต้องแจ้งว่า”ลาออก”ล่วงหน้าวันที่กำหนดในกฏระเบียบการทำงาน(โดยหลักเกณฑ์แล้ว สัญญาจ้างแรงงานจะสิ้นสุดลงหลังจากนั้น 2 สัปดาห์)

กรณีสัญญาจ้างงานมีการกำหนดระยะเวลาของสัญญา

หากไม่มีเหตุสุดวิสัยแล้ว ไม่สามารถลาออกก่อนครบกำหนดระยะเวลาของสัญญาอย่างไรก็ตาม หากมีเหตุสุดวิสัยแล้วปลึกษากับบริษัทด้วย

บริษัทไม่สามารถเลิกจ้างได้โดยพลการ

การเลิกจ้าง

หมายถึงการสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานโดยทางบริษัท และอีกฝ่ายไม่ได้สมัครใจ
กรณีพิจารณาอย่างเป็นกลางแล้วพบว่าการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมผล ไม่มีเหตุอันควรเป็นที่ยอมรับตามบรรทัดฐานของสังคม ถือว่าการเลิกจ้างนั้นเป็นโมฆะ
กรณีบริษัทพยายามที่จะเลิกจ้างแรงงาน ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน หรือจ่ายค่าจ้างเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 30 วัน

หยุดจ้างงาน

การหยุดจ้างงานหมายถึง การไม่ทำสัญญาจ้างแรงงานใหม่เมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลาไว้
กรณียุดจ้างงานกับผูที่ได้รับการต่อสัญญาใหม่ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป และทำงานต่อเนื่องกันนานกว่า 1ปี บริษัทต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพิจารณาอย่างเป็นกลางแล้วพบว่าการหยุดจ้างนั้น ไม่มีเหตุอันสมควรเป็นที่ยอมรับตามบรรทัดฐานของสังคม บริษัทจะไม่สามารถหยุดจ้างได้ในกรณีแรงงานที่เคยได้รับการต่อสัญญามาแล้วหลายครั้ง

การออกจากงานตามการส่งเสริมให้สมัครใจเกษียณ

หากทางบริษัทส่งเสริมให้สมัครใจเกษียณต่อแรงงานแล้ว ฝ่ายแรงงานยังมีสิทธิที่ปฏิเสธนั้น แรงงานต้องแจ้งให้บริษัท อย่างชัดเจนว่า “ไม่ยอมลาออกจากงาน”

การล้มละลายของบริษัท

ในกรณีที่บริษัทล้มละลายจนไม่สามารถจ่ายเงินเดือนได้ รัฐสามารถสำรองจ่ายเงินค่าจ้างบางส่วนที่ค้างจ่ายได้ โปรดปรึกษากับ “หน่วยงานให้คำปรึกษาแรงงานต่างชาติ “ของกรมแรงงานก่อน