ขั้นตอนในหน่วยงานราชการ

การยื่นเรื่องที่จำเป็น ณ เขตปกครองในท้องที่

การยื่นเรื่องแจ้งที่อยู่

ชาวต่างชาติที่จะพำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเกินกว่า3เดือน จำเป็นต้องยื่นเรื่องแจ้งที่อยู่ต่อเขตปกครองในท้องที่ หลังจากนั้นหากมีอะไรเปลี่ยนแปลงใหม่ในการใช้ชีวิตแจ้งให้ทางการทราบด้วย และหากพบปัญหาในการใช้ชีวิตท่านสามารถปลึกษากับเขตปกครองในท้องที่ได้

เมื่อท่านได้ที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น

ท่านจำเป็นต้องยื่นเรื่อง”แจ้งย้ายเข้า”ต่อเขตปกครองในท้องที่ภายใน14วันนับจากวันที่ได้ที่อยู่ จำเป็นต้องพก”หนังสือเดินทาง” หรือ”บัตรประจำตัวผู้พำนัก” ด้วย

การย้ายบ้าน

ท่านจำเป็นต้องยื่นเรื่องต่อเขตปกครองในท้องที่ หากท่านมีบัตรมายนัมเบอร์กรุณานำไปด้วย

กรณีย้ายไปยังเขตปกครองในท้องที่อื่น

ก่อนย้ายให้ยื่นเรื่อง”แจ้งย้ายออก”ต่อเขตปกครองในท้องที่ที่ท่านอาศัยอยู่เดิม และ ให้ยื่นเรื่อง”แจ้งย้ายเข้า”ต่อเขตปกครองในท้องที่ที่ท่านอาศัยใหม่ภายใน 14 วันนับจากวันย้าย

กรณีย้ายไปยังเขตปกครองในท้องที่เดิม

ท่านจำเป็นต้องยื่นเรื่อง”แจ้งย้าย”ต่อเขตปกครองในท้องที่ที่ท่านอาศัยอยู่ ภายใน 14 วันนับจากวันย้าย

กรณีย้ายไปต่างประเทศ

ให้ยื่นเรื่อง”แจ้งย้ายออก”ต่อเขตปกครองในท้องที่ที่ท่านอาศัยอยู่ก่อนย้าย

ระบบมายนัมเบอร์

ระบบมายนัมเบอร์คืออะไร

คนที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นทุกท่านได้รับมายนัมเบอร์(หมายเลขประจำตัว) เมื่อท่านได้ที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น และได้ยื่นเรื่อง”แจ้งย้ายเข้า”ต่อเขตปกครองในท้องที่แล้ว ท่านจะรับเอกสาร”การแจ้งมายนัมเบอร์” ทางไปรษณียังบ้านในภายหลัง

กรณีจำเป็นต้องใช้เลขมายนัมเบอร์

  • การโอนเงินหรือ การรับเงินที่ส่งมาจากต่างประเทศ และ การเปิดบัญชีธนาคารฯลฯ
  • เมื่อยื่นเรื่องที่หน่วยงานราชการ เช่น เรื่องประกันสังคม หรือเรื่องภาษี
  • เมื่อท่านเริ่มทำงานใหม่

บัตรมายนัมเบอร์

บัตรมายนัมเบอร์เป็นบัตรติดชิปIC ท่านจำเป็นต้องยื่นใบคำร้องขอบัตรมายนัมเบอร์เพื่อจะได้รับบัตร
ในการยื่นคำร้องครั้งแรก สามารถยื่นคำร้องได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 
กรุณายื่นทำบัตรมายนัมเบอร์ตามวิธีแนะนำใน”การแจ้งมายนัมเบอร์”ด้วย ท่านสามรถรับบัตรมายนัมเบอร์ได้ภายในประมาณ 1 เดือน

รายละเอียดเกี่ยวกับมายนัมเบอร์

สำนักงานคณะรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น “เกี่ยวกับมายนัมเบอร์

หลายภาษา

เว็บไซต์รวมบัตรมายนัมเบอร์
ติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์

คอลเซ็นเตอร์:วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ 9:30 น. ถึง 20:00 น. วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 9:30 ถึง 17:30 น.
ภาษาญี่ปุ่น 0120-95-0178
ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส 0120-0178-27

การประกันรักษาพยาบาลของรัฐ

ที่ลงทะเบียนอาศัยที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นไม่ว่าสัญชาติใดก็ตามล้วนอยู่ในการประกันค่ารักษาพยาบาลของรัฐ เพื่อลดภาระค่ารักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายเอง ท่านจะได้รับบัตรประกันสุขภาพเมื่อเข้าทำประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพมี 3 ประเภท ท่านเข้าทำประกันสุขภาพในดังต่อไปนี้

การประกันสุขภาพ

  • ผู้ที่ทำงานในบริษัท(สถานประกอบการ)และสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นสามารถเข้าทำประกันสุขภาพได้ หากท่านไม่ทราบว่าท่านและสมาชิกในครอบครัวสามารถเข้าทำประกันสุขภาพได้หรือไม่ กรุณาสอบถามกับบริษัทด้วย
  • บริษัทจะดำเนินขั้นตอนการเข้าทำประกันสุขภาพ
  • เบี้ยประกันจะแตกต่างกันไปตามรายได้ ท่านจำเป็นต้องจ่ายทุกๆเดือน บริษัทและผู้ประกันตนจะรับภาระค่าเบี้ยประกันสุขภาพคนละครึ่ง
ภาระค่ารักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายเอง
  • อายุไม่ถึง 6 ปี(ก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา) ร้อยละ 20
  • อายุไม่ถึง 70 ปี ร้อยละ 30
  • อายุตั้งแต่ 70-74 ปี ร้อยละ 20 (หรือ ร้อยละ 30 สำหรับผู้ที่ยังทำงาน และมีรายได้)

การประกันสุขภาพแห่งชาติ

  • ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ประกันสุขภาพในที่ทำงาน จะกลายเป็นผู้เอาประกันการประกันแห่งชาติ ท่านสามารถยื่นเรื่องเอาประกันสุขภาพแห่งชาติได้ ณ เขตปกครองในท้องที่ที่ท่านอาศัยอยู่
  • เบี้ยประกันจะแตกต่างกันไปตามรายได้ และจำนวนสมาชิกในครอบครัว ฯลฯ
  • ในบางกรณีเบี้ยประกันอาจลดลงได้ตามรายได้ สภาพความเป็นอยู่ ฯลฯ กรุณาสอบถามรายละเอียดได้ที่เขตปกครองในท้องที่ที่อาศัยอยู่
ภาระค่ารักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายเอง
  • อายุไม่ถึง 6 ปี(ก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา) ร้อยละ 20
  • อายุไม่ถึง 70 ปี ร้อยละ 30
  • อายุตั้งแต่ 70-74 ปี ร้อยละ 20 (หรือ ร้อยละ 30 สำหรับผู้ที่ยังทำงาน และมีรายได้)

การประกันสุขภาพผู้สูงวัยตอนปลาย

  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไปจะเข้าทำประกันสุขภาพผู้สูงวัยตอนปลาย ท่านสามารถทำขั้นตอนการเข้าทำประกันสุขภาพผู้สูงวัยตอนปลายได้ ณ เขตปกครองในท้องที่ที่ท่านอาศัยอยู่ การประกันสุขภาพที่ผ่านมาจะถูกเวนคืน
  • เบี้ยประกันจะแตกต่างกันไปตามรายได้ ฯลฯ
ภาระค่ารักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายเอง
  • ร้อยละ 10 (หรือ ร้อยละ 30 สำหรับผู้ที่มีรายได้สูง)

ระบบเงินบำนาญของรัฐ

ผู้ที่ลงทะเบียนอาศัยที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นไม่ว่าสัญชาติใดก็ตามต้องเข้าทำประกันเงินบำนาญของรัฐ เพื่อเป็นหลักประกันรายได้ในยามชราภาพ พิการ หรือเสียชีวิต

ประกันเงินบำนาญของรัฐมี 2 ประเภท มีเงินบำนาญแห่งชาติ และเงินบำนาญสวัสดิการ

เงินบำนาญแห่งชาติ

  • ผู้ที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 59 ปีทุกท่านจำเป็นต้องเข้าทำประกันเงินบำนาญแห่งชาติ
  • ผู้ประกันตนจะยื่นเรื่องเพื่อเข้าทำประกัน ณ เขตปกครองในท้องที่ที่อาศัยอยู่
  • สำหรับผู้ที่ทำงานบริษัท ผู้คนนั้นบริษัทจะดำเนินขั้นตอนการเข้าทำประกันเงินบำนาญแห่งชาติ

การประกันบำนาญสวัสดิการ

  • นอกจากเข้าทำประกันเงินบำนาญแห่งชาติแล้วผู้ที่ทำงานบริษัท ฯลฯ ยังเข้าทำประกันบำนาญสวัสดิการเพิ่มอีก
  • ผู้ที่ทำงานบริษัทหรือโรงงาน ฯลฯ เกินเวลาที่กำหนด และผูที่มีอายุไม่เกิน 70 ปี จะเข้าทำประกันบำนาญสวัสดิการ
  • บริษัทจะดำเนินขั้นตอนการเข้าทำประกันบำนาญสวัสดิการ

ผู้ที่เข้าทำประกันเงินบำนาญจะได้รับสมุดเงินบำนาญ

年金手帳

ผู้ที่เข้าทำเงินบำนาญในประเทศญี่ปุ่น สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินคืนได้เมื่อออกจากการเงินบำนาญภายหลังจากออกนอกประเทศญี่ปุ่น

องค์การเงินบำนาญแห่งประเทศญี่ปุ่น (หลายภาษา)

ศูนย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับประกันสุขภาพ และเงินบำนาญ

สำนักงานเงินบำนาญในจังหวัดอิบารากิ

สำนักงานเงินบำนาญ มิโตะคิตะ 2-3-32 โอมาจิ อ.มิโตะ 〒310-0062
โทร. 029-227-3278
สำนักงานเงินบำนาญ มิโตะคิตะ 2-5-17 ยานางิมาจิ อ.มิโตะ 〒310-0817
โทร. 029-227-3278
ศูนย์ให้คำปรึกษาเงินบำนาญมุมถนน มิโตะ ชั้น 1 อาคาร มิโตะFFเซ็นเตอร์ 3-4-10 มินามิมาจิ อ.มิโตะ 〒310-0021
โทร. 029-231-6541 ※ไม่สามารถปรึกษาทางโทรศัพท์ได้
สำนักงานเงินบำนาญ ชิโมดาเทะ 1720 สุกะยะ อ.จิคุเซ 〒308-8520
โทร. 0296-25-0829
สำนักงานเงินบำนาญ ซึจิอุระ 2-7-29 ชิโมทาคาซึ อ.ซึจิอุระ 〒300-0812
โทร. 029-825-1170
ศูนย์ให้คำปรึกษาเงินบำนาญมุมถนน ซึจิอุระ ชั้น 3 อาคาร รีกัลซึจิอุระ 1-16-12 ซากุระมาจิ อ.ซึจิอุระ 〒300-0037
โทร. 029-825-2300 ※ไม่สามารถปรึกษาทางโทรศัพท์ได้
สำนักงานเงินบำนาญ ฮิตาจิ 2-10-22 ไซไวโจ อ.ฮิตาจิ 〒317-0073
โทร. 0294-24-2194

※เคาน์เตอร์ที่ว่าการในแต่ละทองที่(ประกันสุขภาพแห่งชาติและเงินบำนาญแห่งชาติ)